
ชื่อป่าตะวันออกอาจเป็นชื่อที่ยังไม่ค่อยมีคนรู้จักกันมากนักเพราะที่จริงแล้ว ชื่อป่าตะวันออกเกิดจากการรวม เอาพื้นที่ป่า ๕ แห่งคือ
1.เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน(ป่ารอยต่อ ๕ จังหวัด) พื้นที่ ๖๔๓,๗๕๐ ไร่
2.เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว มีพื้นท ี่ ๖๔๐,๖๗๕ ไร่
3.อุทยานแห่งชาติเขาชะเมา-เขาวงมีพื้นที่ ๕๒,๓๐๐ ไร่
4. อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฎ มีพื้นที่ ๓๖,๖๘๗ ไร่ และ
5. พื้นที่ป่าสงวนที่ยังคงสภาพอยู่โดยรอบอีกประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ ไร่

รวมพื้นที่ป่าที่เรียกว่า " ป่าตะวันออก " ทั้งสิ้น ๑,๔๗๐,๐๐๐ ไร่ ด้วยเพราะว่าการจะอนุรักษ์ป่าไม้สัตว์ป่าให้ยั่งยืนนั้น จะต้องรักษาพื้นที่ให้มีขนาดติดต่อกันเป็นผืนใหญ่ที่สุดเพื่อความมั่งคงของระบบนิเวศน์ การแบ่งซอยพื้นที่ป่าเป็นส่วนเล็กส่วนน้อย จะก่อให้เกิด ผลกระทบต่อป่าและสัตว์ป่า จึงทำให้องค์กรเช่น ศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชน ภาคพื้นเอเชียแปชิฟิก,มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและ พรรณพืชแห่งประเทศไทย,มูลนิธิสืบนาคะเสถียร,ศูนย์วิจัยสัตว์ป่าฉะเชิงเทรา กรมป่าไม้ และคณะกรรมการประสานงานโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) ฯลฯ มาประชุมกันเพื่อที่จะรักษาพื้นที่ป่าแห่งนี้และเพื่อไม่เป็นที่สับสนจึงได้ตั้งชื่อป่าแห่งนี้ขึ้น ใหม่ว่า "ป่าตะวันออก" เมื่อปี ๒๕๓๗
ถึงแม้ว่าในอดีตป่าตะวันออกเคย เป็นป่าผืนใหญ่ที่เป็นผืนต่อกันขนาดใหญ่ ตั้งแต่ป่าดงพญาไฟ ป่าพนมสารคามไปจนถึงประเทศกัมพูชา แต่ด้วยเหตุผลนานับ ประการ ทั้งที่จำเป็น และไม่จำเป็น ทั้งที่เป็นไปเพื่อส่วนรวมและเพื่อส่วนตัว และทั้งที่เกิดจากความจงใจ หรือความไม่ชัดเจน ของรัฐบาล และชาวบ้านที่ต้องการที่ดินทำกิน และอีกหลายเหตุผล ฉะนั้นกว่าที่จะมาเป็นป่าตะวันออกในปัจจุบันนี้ได้ ต้องผ่าน อุปสรรคมาแล้วมากมาย และหากวันนี้เรายังอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าตะวันออก ยังปล่อยให้มีการทำลายกันต่อไป ก็เชื่อได้ว่าป่าตะวัน ออกก็คงจะสิ้นชื่อไปเช่นเดียวกับป่าพนมสารคามแน่นอน
ความหลากหลายทางชีวภาพ : คุณค่ามหาศาลเพื่อทุกคน
สังคมพืช
ป่าตะวันออก เป็นป่าซึ่งมีที่ตั้งอยู่ในเขตภูมิศาสตร์ ( Plant geographical distribution ) ๒ เขตขึ้นผสมอยู่ในพื้นที่ คือ เขตภูมิพฤกษ์อันนัมมาติค ( Annamatic element ) หรืออินโดไชนีส ( Indo-Chinese element )ซึ่งนับว่าเป็นพื้นที่ซึ่งมีภูมิพฤกษ์อันนัมมาติค ที่โดดเด่นที่สุดของประเทศ นอกจากนี้ยังมีสภาพภูมิพฤกษ์แบบอินโดมาเลเซียน ( Indo-malaesian element ) เข้ามาปะปนอยู่ด้วย เพราะอยู่ในเขตที่มีลมมรสุมพัดผ่านประะจำทุกปี ทำให้ภาคตะวันออกเฉียงใต้มีฝนตกใกล้เคียงกับภาคใต้ อธิบายง่ายๆก็คือ ป่าตะวันออกเป็นพื้นที่ที่สามารถพบสังคมพืชได้ทั้ง ๓ แบบคือป่าทางภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(เขตภูมิพฤกษ์อันนัมมาติค) และภาคใต้ (เขตอินโดมาเลเซียน )

จึงทำให้พบความหลากหลายทางชีวภาพทั้งพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์มีมากเป็นพิเศษ สังคมพืชของ ป่าตะวันออกส่วนใหญ่เป็นป่าดิบแล้ง และมีที่ราบทางตอนบนของพื้นที่ ซึ่งมีความสูงประมาณ ๓๐- ๑๕๐ ม.รทก.(ระดับน้ำทะเลปานกลาง )มีพื้นที่ประมาณ ๖ แสนกว่าไร่คือ บริเวณที่เรียกว่า"ป่าลุ่มต่ำ" ซึ่งถือว่าเป็นจุดสำคัญของป่าตะวันออก เพราะป่าลุ่มต่ำที่อื่น ส่วนใหญ่ กลายเป็นพื้นที่เพื่อเกษตรกรรม ที่อยู่อาศัยหรือไม่ก็ถูกน้ำท่วมจากการสร้างเขื่อนไปหมดแล้ว ป่าลุ่มต่ำแห่งนี้จึงเรียกได้ว่าเป็นผืนสุดท้าย ของประเทศไทย
ในป่าลุ่มต่ำนี้เราจะพบไม้เด่นคือ ไม้ตะแบกใหญ่ซึ่งพบที่นี้มากที่สุดในประเทศ เหตุผลก็เพราะไม้ตะแบกเป็นไม้ที่มี โพรง จึงรอดพ้นจากการถูกตัดเป็นซุง นอกจากนี้ยังมีไม้มะค่าโมง กระบก ประดู่ ยางนา สมพง เร่วและะไม้ประเภทว่านเช่น ว่านเพชรหึง ซึ่งเป็นว่าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และไม้ผลอีกนานาชนิดเช่น ระกำป่า ลิ้นจี่ป่า สีระมัน มังคุดป่า ลำไยป่า มะไพ และกระท้อน ซึ่งก็นับได้อีกว่าป่าแห่งนี้เป็นป่าที่มีผลป่ามากที่สุดแห่งหนึ่ง ส่วนตอนล่างของพื้นที่ ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว และ อุทยานเขาคิชกูฏเกือบทั้งหมดมีสภาพเป็นภูเขาสูงชัน สลับซับซ้อน จนเล่ากันว่าเพียงเอื้อมมือออกไปก็สามารถที่จะสอยดาวได้เลย ป่าทางตอนล่างนี้ส่วนใหญ่เป็นป่าดงดิบชื้นมีไม้เด่น เช่น ตะเคียนทอง มะค่าโมง นอกจากนี้ยังพบสภาพป่าเต็งรังเป็นหย่อมขนาดเล็ก และป่าเบญจพรรณแทรกปะปนอยู่ทั่วไป

นอกจากนี้ตามพื้นที่ซึ่งเคยเป็นบริเวณที่อยู่อาศัยของราษฎรในเขตผืนป่าตะะวันออก จะพบสภาพ พื้นที่ที่เป็น ไร่ร้าง ทุ่งหญ้า และป่าใส (Secondary forest ) ซึ่งเป็นสภาพป่าทดแทน(ป่ากำลังฟื้นตัว)ที่พบหลังจากพื้นที่ป่าซึ่งเคยถูกทำลาย กำลังจะคืนสภาพกลับมา ซึ่งเป็นระบบนิเวศหนึ่งของป่าที่สำคัญมาก สังคมสัตว์ป่า เนื่องจากพื้นที่แห่งนี้มีสภาาพซึ่งเหมาะสมต่อการดำรง ชีวิตของสัตว์ป่าหลายชนิดเช่น ป่าดงดิบ ป่าดิบแล้ง ลุ่มต่ำและทุ่งหญ้า มีพันธุ์ไม้ที่เป็นพืชอาหารของสัตว์ป่าเจริญพันธุ์อยู่หลายชนิด โดยเฉพาะไม้ในสกุลไทร และไม้ผลอื่นๆที่มีการผลัดเปลี่ยนออกผลกันเกือบตลอดทั้งปี มีแหล่งดินโป่ง น้ำซับ และแหล่งน้ำกระจายอยู่ ทั่วไป จึงมีผลให้พื้นที่แห่งนี้กลายเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่ามากมายหลายชนิด
สังคมสัตว์
จากการสำรวจเบื้องต้นของสถานีวิจัยสัตว์ป่าฉะะเชิงเทรา,ข้อมูลพื้นฐานของแผนแม่ บทการจัดการพื้นที่ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขาสอยดาว,ข้อมูลพื้นฐานแผนแมบทการจัดการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน และแผนแม่บทการจัดการเบื้องต้นของอุทยานแห่งชาต ิเขาชะเมา-เขาวง และอุทยานแห่งชาติเขาคิชกูฎ พบว่าในพื้นที่แห่งนี้มีนกอย่างน้อย ๒๙๐ ชนิด สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ๑๒๒ ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน ๙๐ ชนิด สัตว์สะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบก ๒๙ ชนิด และปลาน้ำจืดอย่างน้อย ๔๗ ชนิด และหากว่ามีการสำรวจเพิ่มเติมอย่าง ละเอียดคาดว่าอาจพบชนิดของสัตว์ป่ามากขึ้น
สัตว์ป่าชนิดที่สำคัญซึ่งมีการพบในพื้นที่ได้แก่ ช้างป่า,กระะทิง,วัวแดง,เลียงผา,เนื้อทราย ,กวางป่า,เก้ง,ชะนีมงกุฏ,ไก่ฟ้าพญาลอ,ไก่ฟ้าหลังขาว, นกกระสาคอขาว,นกตะกรุม,นกขุนทอง ,กิ้งก่ายักษ์หรือตะกอง,จระเข้น้ำจืด และ กบอกหนาม เป็นต้นโดยเฉพาะนกขุนทองและไก่ฟ้าพญาลอซึ่งพบมากที่สุกในป่าแห่งนี้ และคาดว่าในพื้นที่แห่งนี้น่าจะยังคงมี แรดสุมาตราหรือกระซู่ ซึ่งเป็นสัตว์ป่าสงวนและมีสถานภาพที่ใกล้สูญพันธุ์
ในพื้นที่ป่าดงดิบชื้นของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขาสอยดาวอีกด้วย สัตว์สะเทินนน้ำสะเทินบกเช่น บอกหนาม มีการพบเฉพาะที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาวเพียงแห่งเดียว ในโลก ส่วนจระเข้น้ำจืดนอกจากที่จะพบในพื้นที่ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไนยแล้ว คาดว่าจะพบในพื้นที่อนุรักษ์ของ ไทยอีกเพียง ๒-๓ แห่งเท่านั้นและแต่ละแห่งล้วนตกอยู่ในสถานภาพที่ใกล้สูญพันธุ์อีกด้วย และจากการสำรวจปูป่าในเขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน ของคณะอาจารย์จากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบปูชนิดใหม่ของโลก ๒ ชนิด ( New species ) อยู่ในสกุล Thaipotamon และในสกุล Ppottamon นอกจากนี้ยังมีการพบผึ้งชนิดใหม่ของโลก ( New locolity ) อีก ๑ ชนิด คือ มิ้มดำ หรือ ม้าม ( Apisandicniformis ) ผึ้งชนิดนี้เคยมีการพบในป่าที่อื่นมาก่อน และมีเพิ่งมีการพบอีกครั้งหนึ่งในพื้นที่ป่าแห่งนี้ แต่ว่าในผืนป่า ตะวันออกแห่งนี้มีประะชากรที่หนาแน่นกว่าในพื้นที่อื่นๆ เมื่อมีการเปรียบเทียบกัน และมีความเชื่อว่าในป่าตะวันออกนี้ หากมีการ สำรวจอย่างละเอียดคาดว่าจะสามารถพบสัตว์ป่าชนิดใหม่ของโลกอีกหลายชนิดแน่นอน โดยเฉพาะสัตว์ขนาดเล็ก คุณค่าและประโยชน ์ของป่าตะะวันออก

การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติโดยเฉพาะป่าไม้ ในปัจจุบันสมควรที่จะต้องมีความรอบคอบและต้องคำนึงถึง ประโยชน์ที่จะได้รับจากป่าที่อุดมสมบูรณ์ สถานการณ์ภัยแล้งในช่วงปี ๒๕๓๖-๓๗ คงจะชี้ให้เห็นได้ว่าหากเรามีการดูแลป่าให้ด ี เราก็จะไม่ต้องเผชิญกับปัญหาเช่นนี้ ซึ่งปัจจุบันเราจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมากในการแก้ปัญหาดังกล่าว และเมื่อป่าตะวันออก คือผืนป่าที่มากคุณค่าค่อโลกและมากประโยชน์ต่อประชาชนหลายล้านคน ยิ่งต้องมีการคำนึงให้มากเพราะหากปล่อยให้มีการ ใช้ดังเช่นที่ผ่านมา อนาคตของประชาชนภาคตะวันออกสิบล้านกว่าคน ย่อมต้องเผชิญกับการลงโทษของธรรมชาติอย่างแน่นอน
สนับสนุนข้อมูลโดย : มูลนิธิสืบนาคเสถียร