ที่ตั้ง : ครอบคลุมพื้นที่ป่าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน (เนื้อที่ 643,750 ไร่) เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว (เนื้อที่ 465,340 ไร่) อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฎ (เนื้อที่ 36,687 ไร่) และอุทยานแห่งชาติเขาชะเมา - เขาวง (เนื้อที่ 52,300 ไร่) ซึ่งเป็นป่าอนุรักษ์ตามกฎหมาย รวมเนื้อที่ 1,198,077 ไร่ และพื้นที่ป่าอนุรักษ์ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 และ 17 มีนาคม 2535 รวมทั้งพื้นที่แนวกันชนโดยรอบซึ่งมีอาณาเขตดังนี้
พระราชดำริ
|
เมื่อวันที่ 12 กรกฏาคม 2536 สำนักราชเลขาธิการ มีหนังสือแจ้งกรมป่าไม้ว่า สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้มีพระราชดำริ จะให้มีการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าให้มีความสมบูรณ์ เพื่อเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร และรักษาสภาพแวดล้อม ตลอดจนพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรในชุมชนที่อพยพจากป่าและชุมชนที่อาศัยอยู่ติดแนวเขตป่าอนุรักษ์ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2537 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ เยี่ยมราษฎรที่ บ้านเทพประทาน ตำบลคลองตะเกรา กิ่งอำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา มีพระราชดำริให้พิจารณาแหล่งน้ำเพื่อให้ราษฎรได้มีน้ำใช้เพื่อการอุปโภค –บริโภค และทำการเกษตร
|
|
ประเภทของโครงการ : โครงการเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
ประวัติความเป็นมา
|
|
|
ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด เดิมคือป่าพนมสารคามอยู่ในภาคตะวันออกของประเทศมีอาณาเขตติดต่อกัน 5 จังหวัด คือ จังหวัดฉะเชิงเทรา, ชลบุรี, ระยอง, จันทบุรี และสระแก้ว เดิมเป็นป่าผืนใหญ่ติดต่อกับป่าในประเทศกัมพูชา ต่อมาถูกบุกรุกทำลายจนแทบไม่เหลือสภาพป่า ในปี 2510 ป่ารอยต่อ 5 จังหวัดเดิมมีพื้นที่ประมาณ 5 ล้านไร่ ปัจจุบันเมื่อรวมพื้นที่ป่าอนุรักษ์ทั้งหมด ได้แก่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน,เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว, อุทยานแห่งชาติเขาชะเมา - เขาวง, อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ มีพื้นที่รวมกันเหลือเพียงประมาณ 1,198,077 ไร่ การทำลายป่าไม้ทำให้เกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมอย่างรุนแรง เช่น เกิดน้ำท่วมใหญ่ในพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรีและจังหวัดฉะเชิงเทรา ในปี 2526, 2531 และ 2533 ตลอดจนสภาวะน้ำเค็มหนุนขึ้นสูงในแม่น้ำบางปะกง ถึงอำเภอบางคล้า หรือบางทีถึงอำเภอพนมสารคาม ในฤดูแล้ง เพื่อแก้ไขปัญหาการบุกรุกดังกล่าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดตั้งกองอำนวยการศูนย์พิทักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัดขึ้น โดยใช้กำลังเจ้าหน้าที่ของกรมป่าไม้ และกำลังทหารพราน ร่วมกันดำเนินการตรวจลาดตระเวน เพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำผิด พ.ร.บ.ป่าไม้ ต่อมา คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2531 อนุมัติให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมป่าไม้ ดำเนินการจัดทำโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า ในพื้นที่ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด โดยมีระยะเวลาดำเนินงาน 5 ปี ในช่วงปี 2532 - 2536 เรื่อยมาตามลำดับ
ดังนั้นเพื่อเป็นการสนองพระราชดำริในการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า ในพื้นที่ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด (ภาคตะวันออก) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อาศัยอำนาจตามความในข้อ 5 (5) ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พ.ศ.2535 จึงแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารโครงการ ที่ 3/2537 ลงนามโดย นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี และคำสั่งที่ 1/2538 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ ลงนามโดย ท่านผู้หญิงสุประภาดา เกษมสันต์ ราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ประธานบริหารโครงการ ในการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการครั้งนี้ แม่ทัพภาคที่ 1 เป็นประธานอนุกรรมการดำเนินงานโครงการ และมีผู้ว่าราชการจังหวัด 5 จังหวัด เป็นรองประธานอนุกรรมการดำเนินงานโครงการ คือ จังหวัดฉะเชิงเทรา,จังหวัดชลบุรี,จังหวัดจันทบุรี,จังหวัดระยอง,จังหวัดสระแก้ว และผู้แทนส่วนราชการต่างๆ เป็นกรรมการ ผู้อำนวยการกองกิจการพลเรือน กองทัพภาคที่ 1 เป็นเลขานุการ และผู้บังคับการกรมทหารพรานที่ 13 หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
|
วัตถุประสงค์ของโครงการ
|
1. เพื่อสนองพระราชดำริสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในการอนุรักษ์ผืนป่า ให้ดำรงไว้ซึ่งความอุดมสมบูรณ์ดังเดิม
2. เพื่อฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่เสื่อมโทรม และปลูกป่า เพื่ออนุรักษ์ต้นน้ำลำธารในพื้นที่ป่าอนุรักษ์
3. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งชุมชนที่อพยพมาจากพื้นที่โครงการ รวมทั้งชุมชนที่อยู่อาศัยและทำกินใกล้กับแนวเขตให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ โดยได้รับประโยชน์อย่างเหมาะสมจากทรัพยากรธรรมชาติ และไม่หวนกลับไปบุกรุกทำลายป่าอนุรักษ์อีก
4. เพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่มากขึ้นอีก อันจะเป็นประโยชน์แก่ราษฎรในระยะยาว
5. เพื่อลดจำนวน ขบวนการลักลอบทำลายป่าไม้ โดยการใช้หลักกฎหมายหลักเกณฑ์ทางสังคม รวมทั้งดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ป่าผืนนี้ให้คงอยู่ตลอดไป
|
|
กิจกรรม/การดำเนินการในด้านต่างๆ
|
|
1. ดำเนินการสำรวจข้อมูล รวมทั้งสิ้น 61 หมู่บ้าน ในเขตป่ารอยต่อ 5 จังหวัด (เนื้อที่ 643,750 ไร่)
|
|
|
1.1 สำรวจข้อมูลพื้นฐาน
1.2 สำรวจข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจและสังคม การถือครองที่ดินในเขตพื้นที่โครงการ
|
|
2. การรังวัดแนวเขตรอบป่ารอยต่อ 5 จังหวัด ระยะทางประมาณ 370 กิโลเมตร
|
|
|
2.1 รังวัดกำหนดขอบเขต
2.2 จัดทำแผนที่มาตราส่วน 1: 50,000 ลงรายละเอียดขอบเขตพื้นที่โครงการ
2.3 จัดทำแผนที่ภาพถ่ายดาวเทียมมาตราส่วน 1: 50,000 ลงรายละเอียดขอบเขตพื้นที่โครงการ
|
|
3. การอนุรักษ์พื้นที่ป่าและการปลูกป่าเสริมป่า
|
|
|
3.1 ชี้แจง ทำความเข้าใจ และการประชาสัมพันธ์ ต่อเป้าหมายประชาชน ทั้งในและนอกโครงการ ให้ตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ และเข้ามามีส่วนร่วม ในการป้องกันรักษา
3.2 การปลูกป่าเสริมป่า ดำเนินการในพื้นที่ 5 จังหวัด (จังหวัดฉะเชิงเทรา, สระแก้ว, ชลบุรี, ระยอง และจันทบุรี) จัดตั้งหน่วยปลูกป่า 2 หน่วย
|
|
4. การพัฒนาอาชีพและยกระดับรายได้ของราษฎร
|
|
|
ส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่
ส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ปีก
สนับสนุนเวชภัณฑ์สัตว์ปีก
ฝึกอบรมเกษตรกร
จัดทำไร่นาสวนผสม
พัฒนาสวนยางในเขตพื้นที่แห้งแล้ง
ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตข้าว
ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตถั่วเหลือง
ส่งเสริมการปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น
|
|
5. การแก้ไขปัญหาผู้มีอิทธิพลและนายทุน
|
|
|
จัดตั้งหน่วยประสานงานโครงการ ให้มีการผนึกกำลัง จากเจ้าหน้าที่ระดับกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เจ้าหน้าที่ป่าไม้ ตำรวจและทหาร ดำเนินการในพื้นที่โครงการ
|
หน่วยที่รับผิดชอบในโครงการ : กรมป่าไม้ และ กองทัพภาคที่ 1 (โดย กรมทหารพรานที่ 13)
หน่วยปฏิบัติ : เจ้าหน้าที่กรมป่าไม้, กรมทหารพรานที่ 13
พื้นที่ดำเนินการ
|
1. พื้นที่ป่าอนุรักษ์ตามกฎหมาย ซึ่งครอบคลุมเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว อุทยานแห่งชาติเขาชะเมา – เขาวง และอุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ เนื้อที่รวมประมาณ 1,198,077 ไร่
2. พื้นที่ป่าอนุรักษ์ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 และ 17 มีนาคม 2535 รวมทั้งพื้นที่ป่าที่มีศักยภาพเหมาะสมแก่การอนุรักษ์และพื้นที่แนวกันชน ระยะ 0.5 – 5 กิโลเมตร จากแนวเขตป่าอนุรักษ์ เนื้อที่รวมประมาณ 4,070,475 ไร่
|
ประโยชน์ที่ได้รับ
|
1. เป็นการสนองพระราชดำริ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในการอนุรักษ์ป่าผืนสุดท้ายของภาคตะวันออก อันเป็นต้นน้ำลำธารของจังหวัดฉะเชิงเทรา สระแก้ว ชลบุรี ระยอง และจันทบุรี มิให้ถูกบุกรุกทำลายและดำรงไว้ซึ่งความอุดมสมบูรณ์ดังเดิม
2. ป่าไม้ในพื้นที่เสื่อมโทรม ได้รับการฟื้นฟูและปลูกเพิ่มเติมเพื่ออนุรักษ์แหล่งต้นน้ำลำธาร
3. ชุมชนที่อพยพมาจากพื้นที่ป่า รวมทั้งชุมชนที่อยู่อาศัย และทำกินใกล้ชิดกับแนวเขตป่า มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ โดยได้รับประโยชน์อย่างเหมาะสมจากทรัพยากรธรรมชาติ และไม่หวนกลับไปบุกรุกทำลายป่าอนุรักษ์อีกต่อไป
4. ก่อให้เกิดการพัฒนา เพิ่มพูนคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติ ในพื้นที่มากขึ้น อันเป็นประโยชน์แก่ราษฎร ในระยะยาว
5. สามารถขจัดอิทธิพล ขบวนการลักลอบทำลายโดยใช้หลักกฎหมายและหลักเกณฑ์ทางสังคม รวมทั้งสามารถสร้างจิตสำนึก ให้ประชาชนเกิดความรัก หวงแหน ปกป้อง และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ให้คงอยู่ตลอดไป
|
|